วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ข่าว บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้า, ข่าวสหรัฐอเมริกา


หนุ่มมะกันเตือนภัยบุหรี่ไฟฟ้า หลังมันระเบิดคาปาก จนฟันหักเป็นแผลฉกรรจ์


ซึ่งหลังจากที่ทีมแพทย์ได้ทำการปฐมพยาบาลบาดแผลให้เขาแล้วเสร็จ ทางผู้บาดเจ็บก็ได้โพสต์ถึงเรื่องราวสุดระทึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ก่อนเกิดเหตุเขาได้จุดบุหรี่ไฟฟ้าขึ้นสูบระหว่างทำกิจธุระอยู่ในห้องน้ำก่อนเดินทางไปทำงาน แต่ระหว่างนั้นบุหรี่เจ้ากรรมก็เกิดระเบิดขึ้น จนส่งผลทำให้อ่างล้างหน้าเสียหาย และที่ปากของเขาเป็นแผลฉกรรจ์ ซึ่งหลังเกิดเหตุเขาก็ได้พาร่างของเขาไปโรงพยาบาลทันที
ส่วนสาเหตุที่ทำให้บุหรี่ไฟฟ้าดังกล่าวระเบิดได้นั้นเขาไม่ทราบแน่ชัด เพราะเขาได้มีการดูแลตรวจสอบสภาพมันอยู่ตลอดเวลา แต่กระนั้นเหตุการครั้งนี้ก็คงทำให้เขาขยาดไม่กล้าหยิบมันขึ้นมาสูบอีกต่อไป
นอกจากนี้ แอนดรูว์ ยังได้เผยต่ออีกว่า สาเหตุที่เขาได้นำเรื่องราวดังกล่าวมาเผยแพร่ครั้งนี้ก็เพราะต้องการเตือนสติและขอให้เป็นอุทาหรณ์สำหรับคนใช้บุหรี่ไฟฟ้าจงระมัดระวังเพราะมันอันตรายและอาจเกิดเหตุไม่คาดฝันอย่างที่เขาพบเจอในครั้งนี้ก็เป็นได้ ถึงแม้ว่าจะมีการดูแลสภาพของมันอย่างดีก็ตาม สำหรับอาการบาดเจ็บของหนุ่มแอนดรูว์นั้น ขณะนี้ดีขึ้นมากแล้ว แต่ยังคงนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเพราะยังมีแผลบางที่ยังต้องดูแลจากทีมแพทย์อยู่

เพาะพันธุ์ลูกหว้า

เพาะพันธุ์ต้นหว้าขายเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้


เพาะต้นพันธุ์ลูกหว้า

เพาะต้นพันธุ์ลูกหว้า ต้นหว้า ขายเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ผลไม้ของไทยมีมากมายหลากหลายชนิด และให้ผลผลิตทุกฤดูกาลทำให้คนไทยทานผลไม้ตามฤดูกาลได้ตลอดทั้งปี การปลูกผลไม้นอกจากปลูกไว้ทานผลแล้ว หากทานไม่หมดยังนำมาแปรรูปหรือเก็บขายเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ทำให้มีรายได้มาลดค่าใช้จ่าย ภายในครอบครัวได้อีก ต้นหว้า เป็นพันธุ์ไม้มากคุณประโยชน์นอกจากมีคุณค่าทางโภชนาการแล้วยังมีสรรพคุณทางยาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วนของลำต้น เช่น เปลือกใช้ทำยาอม แก้ปากเปื่อย ใบและเมล็ดนำมาตำใช้ทาแก้โรคผิวหนังได้ ต้นหว้าเป็นไม้หากยากที่คนไม่ค่อยนิยมปลูกหรือหาต้นพันธุ์ได้ยาก เพาะพันธุ์ต้นหว้าขายเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ที่น่าสนใจค่ะ ลูกหว้านอกจากทานสุกแล้ว ยังนิยมนำไปทำเป็นเครื่องดื่มประเภทไวน์ “ต้นหว้า” เป็นต้นไม้โบราณและเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดเพชรบุรี ต้นหว้าเป็นต้นไม้ในตำนานหรือต้นไม้ในพุทธประวัติ ลูกหว้าจะมีสีม่วงดำรสเปรี้ยวอมฝาดสุกจัดจะมีรสหวานลูกหว้าเป็นผลไม้โบราณที่หาทานยาก และยังหาต้นพันธุ์ได้ยากอีกด้วย เพราะต้นพันธุ์ลูกหว้าขายเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ที่น่าสนใจ สำหรับคนที่ปลูกต้นหว้าไว้แล้วก็สามารถตอนกิ่งขายได้เลย หรือในช่วงที่ลูกหว้ากำลังให้ผลผลิตก็สามารถนำเมล็ดมาเพาะพันธุ์ขายได้ การเพาะเมล็ดพันธุ์ก็มีขั้นตอนเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ดพันธุ์ผลไม้หรือไม้ยืนต้นอื่นๆ ต้นหว้าเป็นไม้ที่ปลูกง่ายโตเร็วลำต้นเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดใหญ่สูง 10-35 เมตรใบดกหนาเป็นพุ่มให้ร่มเงาจะออกดอกและให้ผลในช่วงเดือนธันวาคม – มิถุนายน ลูกหว้านอกจากทานสุกแล้ว ยังนิยมนำไปทำเป็นเครื่องดื่มประเภทไวน์เพราะมีรสเปรี้ยวอมหวาน ทุกส่วนของลำต้น เช่น ยอดอ่อน ผลสุก ผลดิบ เปลือกต้น เนื้อไม้ และเมล็ดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทั้งสิ้น การปลูกต้นหว้านอกจากการทานผลสุก เก็บผลขาย หรือตอนกิ่งเพาะพันธุ์ขายเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้แล้ว การปลูกต้นหว้ายังมีคุณค่าทางด้านจิตใจเพราะเป็นต้นไม้โบราณที่มีอยู่ในตำนานพุทธประวัติ

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

น้ำยาสระผมจากธรรมชาติ


 คนที่เส้นผมสุขภาพดี ไม่มีปัญหาเรื่องหนังศีรษะ คงไม่ต้องกังวลกับการสระผมนัก แต่สำหรับคนที่มีปัญหา ต้องพิถีพิถัน คนที่หนังศีรษะมัน ควรสระผมบ่อยๆ หรือทุกวัน เพราะการปล่อยให้หนังศีรษะมันมากๆ จะเกิดการสะสมตัวของแบคทีเรีย มีผลให้เซลล์รากผมอ่อนแอ และเส้นผมหลุดร่วงง่าย ส่วนคนที่หนังศีรษะแห้ง ควรสระผมให้น้อยลง ประมาณ 2 – 3 วันต่อครั้ง

          แชมพูที่มีขายในท้องตลาดมักโฆษณาว่ามีส่วนผสมของสารบำรุงอย่างนั้นอย่างนี้ ความจริงสารเหล่านั้นให้ประโยชน์กับเส้นผมน้อยมาก เพราะมันอยู่บนศีรษะเราเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น ยังไม่ทันออกฤทธิ์ก็ถูกล้างออกหมดแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องสนใจมากนัก

          ที่น่าสนใจก็คือ ส่วนประกอบในแชมพูที่ผู้ผลิตมักไม่อ้างถึงคือ สารชะล้าง ซึ่งทำให้เกิดฟอง สารเหล่านี้มักจะระคายเคืองต่อผิวของคนที่มีปัญหาหนังศีรษะ แม้แต่ในแชมพูเด็กหรือแชมพูสมุนไพรก็มีสารประเภทนี้เช่นกัน คนที่หนังศีรษะอ่อนบางจึงมักเกิดอาการแพ้ คันหรือเป็นรังแค จนต้องเลิกใช้ไป ทางที่ดีคือ ควรเปลี่ยนมาใช้แชมพูที่ไม่มีสารชะล้าง ซึ่งราคาแพงกว่าในท้องตลาด และมีขายเฉพาะตามคลิกนิกหรือศูนย์ที่ดูแลเกี่ยวกับเส้นผมโดยเฉพาะ

⥤ คำแนะนำสำหรับการสระผมที่ถูกวิธีคือ ⥢


         ↪   ก่อนสระผมด้วยแชมพู ให้ล้างผมด้วยน้ำเปล่า เพื่อชะสิ่งสกปรกบนเส้นผมออก 

         ↪   ชโลมแชมพูให้ทั่วศีรษะ อย่าเทแชมพูบนหนังศีรษะโดยตรง 

         ↪  นวดศีรษะอย่างนุ่มนวล หลีกเลี่ยงการเกาด้วยเล็บหรือขยี้แรงๆ 

         ↪   ล้างแชมพูออกให้สะอาดหมดจด 

         ↪  เช็ดผมให้แห้ง อย่าดึงหรือกระชากผมอย่างแรง หากจะใช้เครื่องเป่าผม ควรถือให้ห่างจากเส้นผมประมาณ 1 ฟุต 

         ↪   ไม่ควรเข้านอนขณะที่ผมยังเปียก อาจทำให้เกิดเชื้อราหรือทำให้ปวดศีรษะได้ 

         ↪   หลีกเลี่ยงการสระผมตามร้านเสริมสวย ซึ่งช่างมักจะสระอย่างแรง ทีละ 3 - 4 ครั้ง ไม่ดีต่อสุขภาพหนังศีรษะแน่ๆ 

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

โครงการพระราชทานพันธ์ุปลานิล

พระราชทานพันธุ์ปลานิล

Cr.http://www.chaoprayanews.com/wp-content/uploads/2016/05/q97.jpg“ปลานิล” ปลาพระราชทานจากรัชกาลที่ 9  สร้างอาหารแก่คนไทย


ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงริเริ่มโครงการเลี้ยงปลาบริเวณโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
        “ปลานิล” เป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยนิยมกินกันเป็นจำนวนมาก ด้วยเพราะมีประโยชน์มากคุณค่า หาซื้อง่าย นำมาปรุงเป็นเมนูอาหารจานอร่อยได้มากหลาย ใครเลยจะรู้บ้างว่า “ปลานิล” ที่กินอยู่ทุกวันนี้นั้น เป็นปลาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานชื่อให้ และให้เป็นอาหารแก่คนไทย
       
       เรื่องราวความเป็นมาของ “ปลานิล” เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศมกุฏราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้น้อมเกล้าฯ ถวายปลาน้ำจืดในตระกูลทิลาเปีย (tilapia) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tilapia nilotica Linn. จำนวน 50 ตัว แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และทรงพระราชทานชื่อปลาชนิดนี้เป็นภาษาไทยว่า "ปลานิล" มีความหมายว่า มีสีดำ คือสีนิล และออกเสียงตามพยางค์ต้นของชื่อชนิด คือคำว่า "nil" มาจาก "nilotica" ซึ่งชื่อพระราชทานนี้เป็นชื่อที่สั้น มีความหมายชัดเจนและง่ายแก่การจดจำสำหรับประชาชนทั่วไป ทรงพระราชทานแนวทาง ในการอนุรักษ์พันธุ์ปลานิล จากการทดลองเลี้ยงด้วยพระองค์เอง 
 
“ปลานิล” ปลาพระราชทานจากรัชกาลที่ 9  สร้างอาหารแก่คนไทย

ปลานิล ปลาพระราชทานจากในหลวงรัชกาลที่ 9


หลังจากทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายปลานิล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้นำปลานิลไปพักเลี้ยงไว้ในบ่อปลาสวนจิตรลดา และได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้กรมประมงเพาะขยายพันธุ์ เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 5 เดือนเศษ ปลานิลได้ขยายพันธุ์มีลูกปลาเป็นจำนวนมาก ทรงเห็นว่าปลาอาศัยอยู่กันอย่างแออัดมาก จึงโปรดให้ขุดบ่อเพิ่มอีกจำนวน 6 บ่อ และทรงย้ายปลาจากบ่อเดิมมายังบ่อใหม่ด้วยพระองค์เอง หลังจากนั้นประมาณปีเศษ ปลานิลได้ขยายพันธุ์เป็นจำนวนมากพอสมควรแล้ว ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 จึงได้พระราชทานลูกปลานิลขนาด 3-5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัวให้แก่อธิบดีกรมประมง เพื่อนำไปเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ที่แผนกทดลอง และเพาะเลี้ยง ในบริเวณเกษตรกลาง บางเขน และสถานีประมงต่าง ๆ อีกจำนวน 15 แห่ง ทั่วราชอาณาจักร
       

       จากนั้นกรมประมงได้ทำการเพาะเลี้ยงปลานิลพระราชทานและปล่อยในแหล่งน้ำทั่วประเทศ จนทำให้ปลาชนิดนี้แพร่หลาย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริให้กรมประมงรักษาพันธุ์แท้ไว้ในสวนจิตรลดา ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าปลาที่พระราชทานให้นำไปแพร่พันธุ์ไม่กลายพันธุ์ไป ต่อมาพระองค์ทรงมีรับสั่งถามนักวิชาการเสมอ ด้วยทรงรู้สึกว่าปลานิลเดี๋ยวนี้มีขนาดเล็กลงเข้าใจว่าจะกลายพันธุ์ ทรงให้เร่งรัดเรื่องการศึกษาวิจัยทางพันธุกรรม ทรงรับสั่งว่าถ้าหาปลานิลพันธุ์แท้ไม่ได้ก็ให้มาเอาที่สวนจิตรลดา ด้วยมีพระประสงค์ให้กรมประมงปรับปรุงพันธุ์ปลานิลให้ดีขึ้น ให้มีตัวโตมีเนื้อมาก ซึ่งจากการศึกษาต่อมาพบว่าสายพันธุ์ปลานิลพระราชทาน เรียกทั่วไปว่า "สายพันธุ์จิตรลดา" เป็นสายพันธุ์ที่มีความบริสุทธิ์ ไม่มีการปะปนของสายพันธุ์ปลาหมอเทศ ซึ่งทำให้ปลามีขนาดเล็กลง ทรงพระราชทานลูกพันธุ์ปลานิลแก่เกษตรกรและพสกนิกรชาวไทย